วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การเรียนรู้แนวใหม่ในศตวรรษที่ 21


ศตวรรษที่  21  ถือเป็นช่วงเวลาที่ท้าท้ายความสามารถของมนุษยชาติ  เพราะเป็นยุคที่โลกต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และข้อมูลข่าวสารทุกอย่างก็ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงรอบตัวเราอีกต่อไป แค่เพียงคลิกที่ปลายนิ้ว  เราก็สามารถก้าวข้ามพรมแดนไปได้ทุกซอกทุกมุมโลก  ซึ่งแวดวงทางการศึกษาทั่วโลกต่างก้าวพ้นรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ครูเป็นศูนย์กลาง  มาเป็นการเรียนรู้ในแบบกระบวนทัศน์ใหม่  เรียกได้ว่าเป็นการจัดการศึกษายุคฐานแห่งเทคโนโลยี หรือ Technology  Based  Paradigm  ในขณะทีประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญและมุมมองของการเตรียมเด็กไทยสู่ศตวรรษที่  21 ในประเด็นดังต่อไปนี้

คุณลักษณะของเด็กไทยในศตวรรษที่ 21  จะต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญ  3  ประการ

ประการแรก  คือ  มีทักษะที่หลากหลาย  เช่น  สามารถทำงานร่วมกับคนเยอะ  ๆ ได้อย่างรวดเร็ว  รับผิดชอบงานได้ด้วยตนเอง  และรู้จักพลิกแพลงกระบวนการแก้ไขปัญหาได้

ประการที่สอง  คือ มองโลกใบนี้เป็นโลกใบเล็ก ๆ ไม่ได้จำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะประเทศไทย  เพื่่อมองหาโอกาสใหม่ ๆ ที่มีอยู่อย่างมากมาย

ประการสุดท้าย  คือ  เด็กไทยยุคใหม่ต้องมีทักษะด้านภาษา เพราะหากพูดหรือใช้แต่ภาษาไทยก็เหมือนกับมี "กะลา"มาครอบไว้


การศึกษาในศตวรรษที่  21  ครูจะต้องปรับแนวทางการเรียนการสอน (pedagogy) โดยครูจะต้องทำให้เด็กรักที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีเป้าหมายในการสอนที่จะทำให้เด็กมีทักษะชีวิต  ทักษะการคิด  และทักษะด้านไอที ซึ่งไอทีในที่นี้ไม่ได้หมายถึง ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหรือใช้ไอแพดเป็น แต่หมายถึงการที่เด็กรู้ว่า  เมื่อเขาอยากรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งเขาจะไปตามหาข้อมูล (data) เหล่านั้นได้ที่ไหน และเมื่อได้ข้อมูลมาเด็กต้องวิเคราะห์ได้ว่าข้อมูลเหล่านั้นมีความน่าเชื่อถือเพียงใด และสามารถแปลงข้อมูลเป็นความรู้ (knowledge) ได้  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องเกิดจากการฝึกฝน ครูจะต้องให้เด็กได้มีโอกาสทดลองด้วยตนเอง

The  Flipped  Classroom หรือ  การเรียนแบบ "พลิกกลับ"  คือ วิธีการเรียนแนวใหม่ที่ฉีกตำราการสอนแบบเดิม ๆ ไปโดยสิ้นเชิงและกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในโลกปัจจุบันที่ "การศึกษา" และ "เทคโนโลยี" แทบจะเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน  Flipped  Classroom  เป็นการเรียนแบบ "กลับหัวกลับหาง" หรือ  "พลิกกลับ"  โดยเปลี่ยนรูปแบบวิธีการสอนจากแบบเดิมที่เริ่มจากครูผู้สอนในห้องเรียน  นักเรียนกลับไปทำการบ้านส่ง เปลี่ยนเป็นนักเรียนเป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ผ่าน "เทคโนโลยี" ที่ครูจัดหาให้ก่อนเข้าชั้นเรียน และมาทำกิจกรรม โดยมีครูคอยแนะนำในชั้นเรียนแทน

ในต่างประเทศ วิธีการสอนแบบ "พลิกกลับ"  กำลังเป็นที่แพร่หลายในวงกว้างมากขึ้น  โดยสิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของ  Flipped  Classroom นี้ก็คือ  การใช้เทคโนโลยี การเรียนการสอนที่ทันสมัย และการให้นักเรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ผ่านกิจกรรม  ซึ่งทั้งสองส่วนนี้จะกระตุ้นให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างเต็มที่   

ที่มาของการเรียนการสอนแบบ  Flipped  Classroom เกิดขึ้นในปี 2007  โดยครู 2  คน ในรัฐโคโลราโด  สหรัฐอเมริกา  ชื่อ โจนาธาน  เบิร์กแมน  และแอรอน  แซมส์ ได้ถ่ายคลิปวิดีโอการสอนของตนเองเอาไว้สำหรับนักเรียนที่ขาดเรียน เมื่อคลิปบทเรียนของครูทั้งสองเริ่มแพร่ขยายออกไปในวงกว้าง  ครูหลายคนจึงเริ่มหันมาใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ  อาทิ Podcasts  หรือ  YouTube เพื่อสอนนักเรียนนอกห้องเรียนและสงวนเวลาในชั้นเรียนไว้สำหรับการรวมกลุ่มทำแบบฝึกหัด หรือ ทำกิจกรรมร่วมกัน  และผลลัพธ์ที่ได้ คือ ดีกว่าการเรียนการสอนแบบเิดิม นักเรียนจะสามารถศึกษาดูผ่านทางโทรทัศน์ หรือ ในห้องแล็บคอมพิวเตอร์ หรือดูจากที่บ้านได้  เมื่อเข้าชั้นเรียน จะได้ใช้เวลาในห้องเรียนเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆในเรื่องที่สงสัย หรือขอให้ครูอธิบายเพิ่มเติมได้เข้าใจยิ่งขึ้น และเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างไม่มีขีดจำกัด

     ในรูปแบบการเรียนการสอนวิธีนี้ ถือว่าเป็นการเรียนการสอนที่เน้นในรูปธรรมให้นักเรียนได้เห็นและปฏิบัติจากประสบการณ์จริง ซึ่งจะทำให้นักเรียนมีการจดจำและเกิดทักษะการเรียนรู้ได้ดีกว่าที่เรียนแบบนามธรรม  แต่ในมุมมองอีกด้านหนึ่งที่กว่าจะสอนให้นักเรียนรู้จักวิเคราะห์ เลือกใช้สื่อที่ถูกต้อง รู้จักเลือกศึกษาค้นคว้าในเรื่องต่าง ๆ ที่ตนเองสนใจนั้น  ก็จะมีสื่อที่ไม่เหมาะสมกับนักเรียนก็จะแทรกอยู่บนหน้าจอเหมือนกัน  ดังนั้นในการใช้สื่อต่าง ๆในด้านของไอที ก็ควรที่แนะนำให้เข้าใจอย่างแท้จริงและในระยะแรกก็ต้องมีผู้คอยให้คำแนะนำที่ดีไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครอง  ครูต้องมีส่วนร่วมกันสร้างภูมิคุ้มกันให้กับนักเรียนด้วยเหมือนกัน                               



ที่มา : http://anongswu502.blogspot.com/
          นิตยสาร School  in  focus 

ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom)

จากกระแส แท็บเล็ต จากรัฐบาลชุดที่แล้ว มาถึงยุคนี้ก็ได้มีแนวคิดที่จะทำห้องเรียนแบบ "Smart Classroom" ให้กับโรงเรียนต่างๆ แล้วคำว่า "Smart Classroom" มันคืออะไร

ที่มาของ Smart Classroom (สมาร์ท คลาสรูม)

        Smart (สมาร์ต) แปลว่า ฉลาด,เฉียบคม,หลักแหลม,มีไหวพริบ,ปราดเปรื่อง ที่มา: http://th.w3dictionary.org/index.php?q=smart
 
         คำว่า Smart (สมาร์ต) สามารถแปลความหมายได้หลากหลายความหมายแต่โดยรวมๆ อาจเรียกได้แบบรวมๆ ว่า ฉลาด, อัจฉริยะ  อะไรทำนองนี้ ซึ่งคำว่า  Smart (สมาร์ต) ในปัจจุบันได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากมายจนเป็นที่คุ้นหู เช่น

         Smart cards (สมาร์ตการ์ด) บัตรเก่ง หมายถึง บัตรที่ฝังชิป หรือแถมแม่เหล็กไว้บนบัตร เมื่อนำไปใช้งาน เครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องอ่าน(Scan) จะสามารถอ่านค่าต่างๆ ที่มีอยู่ในบัตร ส่งต่อไปยังเครื่องแม่ข่าย แล้วนำมาประมวลผลแสดงค่าต่างๆ ต่อไป เช่น บัตรกดเงินสด(ATM), บัตรโทรศัพท์, บัตรประชาชน, บัตรเครดิต ที่สามารถแสดงสถานะทางการเงิน ที่อยู่ หรือประวัติต่างๆ ของผู้ถือบัตรนั้นๆ

         Smart Phone (สมาร์ตโฟน) หมายถึง เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ(OS)ต่างๆ ลงไปในเครื่องโทรศัพท์ เช่น iOS, Android, Windows phone 8 อีกทั้งยังสามรถติดตั้งแอปพลิเกชั่นต่างๆ ลงเพิ่มเติมในเครื่องได้ มีหลากหลายขนาด อีกทั้งยังมีความสามารถที่เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ รองรับการทำงานในด้านต่างๆ เช่น การใช้งานอินเทอร์เน็ต การสร้างงานเอกสารต่างๆ รวมไปถึงการดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม ที่ครอบคลุมการใช้งานในทุกด้านของผู้ใช้

         Classroom  (คลาสรูม) หมายถึง ห้องเรียน, ชั้นเรียน

ความหมายของ Smart Classroom

          ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) มีความหมายโดยภาพรวมคือ ห้องเรียนที่ประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักๆ 3 สิ่งด้วยกัน คือ ผู้สอน(Teacher) ผู้เรียน(Learner) และ สื่อ(Media) เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์(Computer) โน็ตบุค(Notebook) แท็ปเล็ต(Tablet) สมาร์โฟน(Smart Phone) สมาร์บอร์ด(Smart Board) เครื่องฉายโปรเจ็คเตอร์(Projector) อินเทอร์เน็ต(Internet) ระบบเครือข่ายไร้สาย(WiFi)  โดยมีการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้(Learning Environment) อย่างเหมาะสม ทั้งสถานที่ตั้งห้องเรียน โต๊ะเก้าอี้ ระบบไฟฟ้า เครื่องเสียง ระบบปรับอากาศ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนต่างๆ ในห้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมกลุ่มย่อย(Small Group) การบรรยาย(Lecture) โครงงาน(Project Work) นำเสนอหน้าชั้นเรียน(Presentation) เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้(Learning Skill) และทักษะการเรียนรู้จากการสืบค้น(Research Skill) ได้ด้วยตนเอง เพื่อตอบสนองความต้องการเรียนรู้เป็นรายบุคคลของผู้เรียน และการมีส่วนร่วมในการเรียน(Collaborative Learning)ของผู้เรียน และผู้สอนได้อย่างเต็มศักยภาพ

ที่มา : http://instruction-technical-concepts.blogspot.com/2014/05/smart-classroom.html

แนวคิดใหม่


ตัวอย่าง Smart Classrom ของต่างประเทศ





วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือ อย่างไร ?

ทักษะสำคัญอย่างย่อๆ ที่เด็กและเยาวชนควรมีได้ว่า ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R  และ 4C ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
  • 3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ
  • 4 C (Critical Thinking - การคิดวิเคราะห์, Communication- การสื่อสาร Collaboration-การร่วมมือ และ Creativity-ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่                                                                
ชมวีดีทัศน์  "วิถีสร้างการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21" โดย ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช

ที่มา : http://www.qlf.or.th/Home/Contents/417